วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

สาขาวิชาของชีววิทยา


สาขาวิชาของชีววิทยา

ชีวเคมี (Biochemistry)
ศึกษา ความเป็นไปในระดับชีวโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต ทั้งองค์ประกอบทางชีวเคมีของเซลล์
หรืออณุภาคต่างๆ (รวมไวรัส) โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลง ทั้งการสร้างและทำลายโมเลกุลเหล่านั้น  
(ทั้งสารโมเลกุลเล็ก และ โมเลกุลใหญ่ เป็น มหโมเลกุล (macromolecules) เช่นโปรตีน (Protein)
 (รวม เอ็นไซม์ / Enzyme) ดีเอ็นเอ (DNA) อาร์เอ็นเอ (RNA) การควบคุมการเปลี่ยนแปลงของ
โมเลกุล การควบคุมการทำงานในระดับต่างๆ การสร้างพลังงานและการใช้พลังงาน อันเป็นปรากฏการณ์
ของชีวิต * อณูชีววิทยา (Molecular biology) หรือ ชีววิทยาโมเลกุล เป็นสาขาย่อย ที่แตกออกมา
จากชีวเคมี เน้นศึกษาโครงสร้างและการทำงานของยีน (gene) ซึ่งเป็นรหัสพันธุกรรมบนสายดีเอ็นเอ
อาร์เอ็นเอ ตลอดจนการควบคุมการทำงานของยีน ในระดับต่างๆ จนออกมาเป็น สาย อาร์เอ็นเอ และ  
เป็น โปรตีน
พันธุศาสตร์ (Genetics)
ศึกษาลักษณะทางพันธุกรรม การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต จากชั่วชีวิตหนึ่งไปอีก
ชั่วชีวิตหนึ่ง
เซลล์พันธุศาสตร์ (Cytogenetics)
ศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับเซลล์ รูปร่าง ลักษณะ และจำนวนของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิต
ตำแหน่งที่ตั้งของยีนบนโครโมโซม และการแบ่งเซลล์ในสิ่งมีชีวิต
สัณฐานวิทยา (Morphology)
ศึกษารูปพรรณสัณฐานของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจุลชีพ สัตว์ หรือพืช เพื่อประกอบการระบุชนิด เช่น
รูปร่างของดอกไม้ หรือ การจัดเรียงตัวของใบ
อนุกรมวิธาน (Taxonomy)
ศึกษาการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต ออกเป็นหมวดหมู่ ในทางวิวัฒนาการ (evolution)
สมัยก่อนเน้นข้อมูลสัณฐานวิทยา ปัจจุบันใช้ข้อมูลระดับโมเลกุลมากขึ้น กลายเป็นวิชา
   Molecular Systematics
คัพภวิทยา (Embryology)
ศึกษาการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในสิ่งมีชีวิต การพัฒนา และ การเกิดอวัยวะต่างๆ
ในช่วงเวลาการพัฒนาตัวอ่อน สามารถแยกได้เป็นคัพภวิทยาของพืช หรือคัพภวิทยาของสัตว์
จุลชีววิทยา (Microbiology)
ศึกษาสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก ส่วนมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และ
 ยีสต์ มักรวม ไวรัส ไว้ด้วย
สัตววิทยา (Zoology)
ศึกษาชีววิทยาของสัตว์ ตั้งแต่สัตว์ชั้นต่ำพวก ฟองน้ำ แมงกะพรุน พยาธิตัวแบน พยาธิตัวกลม
 กลุ่มหนอนปล้อง สัตว์ที่มีข้อปล้อง กลุ่มสัตว์พวกหอย ปลาดาว จนถึง สัตว์มีกระดูกสันหลัง และ
 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
มีนวิทยา (Ichthyology)
ศึกษาปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบต่างๆ ภายในตัวปลา การจัดจำแนกปลาออก
เป็นกลุ่มหรือประเภทต่างๆ และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับปลา
สังขวิทยา (Malacology)
ศึกษาหอย โดยเฉพาะหอยน้ำจืดที่เป็นเจ้าบ้านส่งผ่านของพยาธิ
ปรสิตวิทยา (Parasitology)
ศึกษาปรสิต ซึ่งดำรงชีพโดยเป็นตัวเบียฬของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน
กีฏวิทยา (Entomology)
ศึกษาแมลง การจัดจำแนก สรีรวิทยา สัณฐานวิทยา และนิเวศวิทยาของแมลง
พฤกษศาสตร์ (Botany)
ศึกษาชีววิทยาของพืช การจัดจำแนกพืช การกระจายของพืชในส่วนต่างๆ ของโลก
 ตั้งแต่พวกพืชชั้นต่ำที่ไม่มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง ไปจนถึงพืชชั้นสูง อันได้แก่ พืชดอก
กิณวิทยา (Mycology)
ศึกษาชีววิทยาของเห็ด และ รา
บรรพชีวินวิทยา (Paleontology)
ศึกษาฟอสซิล (fossils)
ชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics)
หรือ ชีววิทยาเชิงคำนวณ (computational biology) เป็นบูรณาการของสหวิชา ศึกษาโดยใช้ความรู้จาก
อณูชีววิทยา ชีวเคมี คณิตศาสตร์ประยุกต์, สถิติศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์
 เพื่อจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สืบค้น ประมวลผลข้อมูลทางชีววิทยา เพื่อตอบปัญหาทางชีววิทยา  
ทำแบบจำลองเพื่อทำนายความเป็นไปได้ทางชีววิทยา ทำให้เกิดศาสตร์ใหม่ต่อๆมา เช่น
 จีโนมิกส์ (Genomics) โปรตีโอมิส์ (Proteomics) เมตะโบโลมิกส์ (Metabolomics) ฯลฯ
ชีววิทยาระบบ (Systems biology)
เป็นศาสตร์ที่อาศัยความรู้ทางชีวสารสนเทศศาสตร์ คณิตศาสตร์ชั้นสูง วิทยาการคอมพิวเตอร์
 และ ชีวเคมี เพื่อทำแบบจำลองของปราฏการณ์ภายในเซลล์ หรือในสิ่งมีชีวิต บนคอมพิวเตอร์
  โดยอาศัยการคำนวณ จุดมุ่งหมายก็เพื่อทำนายปรากฏการณ์ของชีวิตในเรื่องต่างๆ อาทิ
การตอบสนองของเซลล์ต่อยา หรือ ต่อสภาวะต่างๆ เป็นต้น ก่อนการทำการทดลองจริงในห้องปฏิบัติการ
(wet lab)
ประสาทวิทยาศาสตร์
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง หน้าที่ การเจริญเติบโต พันธุกรรมศาสตร์ ชีวเคมี สรีรวิทยา, เภสัชวิทยา
 และ พยาธิวิทยา ของระบบประสาท นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรม และ การเรียนรู้
 ยังถือว่าเป็นสาขาของประสาทวิทยาอีกด้วย



รูปภาพ  DNA




 http://www.nana-bio.com  วันที่ 1 กุมพาพันธ์ 2556



ชีวเคมี

ชีวเคมี (Biochemistry) เป็นวิชาพื้นฐานวิชาหนึ่งของนักศึกษาในหลายๆสาขา เช่น แพทยศาสตร์ ทันตกรรมศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชกรรมศาสตร์ เป็นต้น แล้ว ชีวเคมี นี้คืออะไร? ชีวเคมี = ชีว (ชีวิต) + เคมี หรือก็คือ เคมีแห่งชีวิต นั่นเอง ชีวเคมีคือศาสตร์ที่อธิบายชีวิตโดยพิจารณาในระดับโมเลกุล ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของโครงสร้าง, กลไก และกระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้น นักชีวเคมีต่างทำงานหนักในขอบเขตวิจัยต่างๆกัน บ้างก็ศึกษาชีวโมเลกุล เช่น คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน โปรตีน นิวคลีโอไทด์ ฯลฯ บ้างก็ศึกษาเอนไซม์ (enzyme) ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพ (biocatalyst) อันเปรียบได้ดังตัวจักรกลทำงานในสิ่งมีชีวิต บ้างก็ศึกษากลไกของการเกิดปฏิกิริยา (mechanism of reaction) บ้างก็ศึกษาวิถี (pathway) ของการสร้าง/สลายชีวโมเลกุลต่างๆ บ้างก็ศึกษาเกี่ยวกับสารพันธุกรรมคือดีเอ็นเอ (DNA) ที่เปรียบได้ดังพิมพ์เขียวของสิ่งมีชีวิต บ้างก็ศึกษาโครงสร้างสามมิติ (3D structure) ของโปรตีน เป็นต้น ความรู้ทางชีวเคมีเหล่านี้ไม่สูญเปล่า และคงคุณค่าอเนกอนันต์แก่มนุษยชาติ นอกจากจะทำให้เราเข้าใจ ชีวิต มากขึ้นในแง่มุมหนึ่งแล้ว ความรู้ทางชีวเคมียังช่วยให้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้นอีกด้วย เพราะการคิดค้นยาและวิธีรักษาโรคต่างๆในทางการแพทย์อันนับไม่ถ้วนล้วนต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ทางชีวเคมี และยังมีการประยุกต์ไปใช้ในงานด้านอื่นอีก เช่น งานด้านอุตสาหกรรมต่างๆ



สาย DNA และ RNA



พันธุศาสตร์ 

คำว่า "พันธุศาสตร์" นี้ เริ่มแรกคิดขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้กับศาสตร์ใหม่ที่ว่าด้วยการศึกษาชาติพันธุ์และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ วิลเลียม เบทสัน โดยปรากฏอยู่ในเอกสารของเขาที่ส่งไปให้อดัม เซดจ์วิค ซึ่งมีการลงบันทึก วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2448
มนุษย์เริ่มรับความรู้เกี่ยวกับพันธุศาสตร์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยการเพาะพันธุ์และการดำเนินการสืบพันธุ์ให้แก่พืชและสัตว์ การวิจัยทางพันธุศาสตร์ปัจจุบันนิยมใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ศึกษาเพื่อให้ทราบระบบภายในของยีน เช่น การวิเคราะห์การตอบสนองทางพันธุกรรม ซึ่งอยู่ภายในสิ่งมีชีวิต ข้อมูลทางพันธุกรรมส่วนใหญ่มักถูกบรรจุไว้ในโครโมโซม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างทางเคมีของ ดีเอ็นเอ
รหัสทางพันธุกรรมสามารถจำแนกได้จากยีน ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่สำคัญยิ่งในการประกอบลักษณะทางเคมีของโปรตีน ถึงแม้ว่าโปรตีนจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง แต่ในหลายกรณี โปรตีนนั้นไม่อาจกำหนดสารประกอบทางพันธุกรรมได้ทั้งหมด ทว่ากลับอยู่ในฟีโนไทป์ตัวสุดท้ายของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ วลีศัพท์ทางพันธุศาสตร์คำว่า "เพื่อระบุรหัส" มักใช้กับยีนที่สามารถสร้างโปรตีนเองได้, โดยจะถูกเรียกว่า "รหัสถ่ายพันธุ์
ของโปรตีน"


ที่มา http://philomath.exteen.com   วันที่ 1 กุมพาพันธ์ 2556

เซลล์พันธุศาสตร์ของสัตว์(Animal Cytogenetics)

เซลล์พันธุศาสตร์ของสัตว์(Animal Cytogenetics)


ปกติลักษณะของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีรูปร่าง ขนาดและจำนวนคงที่เสมอไม่ว่าโครโมโซมจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานกี่ชั่วรุ่นก็ตาม จำนวนและรูปร่างของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งๆจะเป็นเอกลักษณะจำเพาะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ
โครโมโซมคือ โครงสร้างทางพันธุกรรม (heredity structure) ที่เป็นที่อยู่ของหน่วยพันธุกรรมโครโมโซมทำหน้าที่เก็บรักษา (storage) ถ่ายทอด (transmission) และแสดงออก (expression) ของข้อมูลพันธุกรรม โครโมโซมพบครั้งแรกโดย Strasburger ในปี ค.ศ. 1870 ต่อมาในปี ค.ศ. 1888 Waldeyer จึงเรียกส่วนของนิวเคลียสที่ติดสีนี้ว่า chromosome ซึ่งแปลว่า color body โครโมโซมจะย้อมติดสีที่เป็นเบส (basic dye) เมื่อดูโครโมโซมด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ในนิวเคลียสระยะอินเตอร์เฟสจะเห็นโครโมโซมเป็นเส้นบางยาวๆ เรียกว่า โครมาติน (chromatin) stage) หรือเป็นแท่งขณะเซลล์กำลังแบ่งตัว (division stage) องค์ประกอบของโครโมโซมพวกสิ่งมีชีวิตชั้นสูงที่สำคัญคือ กรดนิวคลีอิคชนิด DNA และโปรตีน
เนื่องจากรูปร่างของโครโมโซมจะเปลี่ยนแปลงไปตามระยะต่างๆของการแบ่งเซลล์ แต่ในระยะเมทาเฟส เป็นระยะที่โครโมโซมหดสั้นที่สุด มีขนาดใหญ่สุด จึงสามารถมองเห็นชัดเจนที่สุด ดังนั้นรูปร่างของโครโมโซมโดยทั่วไปหมายถึง รูปร่างในระยะเมทาเฟส เรียกว่า metaphase chromosome ประกอบด้วยโครมาติด (chromatid) 2 เส้นติดกันที่ตำแหน่งที่เรียกว่าเซนโทรเมียร์ (centromere) ตำแหน่งของเซนโทรเมียร์บนโครโมโซมแต่ละแท่ง จะมีความจำเพาะและคงที่เสมอ ส่วนของโครโมโซมที่ยื่นออกมาจากเซนโทรเมียร์เรียกว่า แขน (arm) ส่วนที่สั้นกว่า เรียก แขนสั้น (short arm ; p) ส่วนที่ยาวกว่า เรียก แขนยาว (long arm ; q)

  


รูปภาพโครโมโซม





ที่มา http://philomath.exteen.com   วันที่ 1 กุมพาพันธ์ 2556

มีนวิทยา

มีนวิทยา 

 เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา รวมถึงอนุกรมวิธานของปลา ออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ปลาในที่นี้ประกอบด้วยปลากระดูกแข็ง ปลากระดูกอ่อน ได้แก่ ฉลามและกระเบน และปลาไมามีขากรรไกร โดยไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์น้ำพวกอื่น เช่น หมึก, กบ, กุ้ง, ปู, วาฬ หรือโลมา ซึ่งไม่จัดว่าเป็นปลา


หนังสือ มีนวิทยา


การศึกษาทางด้านมีนวิทยามีความสัมพันธ์อย่างมากกับสาขาวิชาชีววิทยาทางทะเล ชลชีววิทยา และสมุทรศาสตร์ และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ว่า "นักมีนวิทยา"
มีนวิทยา ถือได้ว่าเป็นแขนงย่อยของสัตววิทยา โดยคำว่า "Ichthyology" ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษนั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ichthys" (ἰχθύς) แปลว่า ปลา, "logy" หรือ "logos" (λόγος) แปลว่า วิชา หรือ เรื่องราว, "มีน" มาจากภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า ปลา และ "วิทยา" มาจากภาษสันสฤษ แปลว่า ความรู้
โดยบุคคลแรกที่ถือได้ว่าศึกษาศาสตร์มีนวิทยาเป็นคนแรกของโลก คือ อริสโตเติ้ล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ริเริ่มจำแนกสิ่งมีชีวิต บันทึกของอริสโตเติลได้กล่าวถึงโครงสร้าง อุปนิสัย การอพยพย้ายถิ่น ฤดูกาลสืบพันธุ์ และความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลามากชนิด แต่ความจริงมนุษย์รู้จักปลามานานกว่า 50,000 ปีแล้ว จากหลักฐานทีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้วาดภาพปลาไว้ที่ผนังถ้ำ เช่น รูปปลาบึกทีอุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับปลาในระยะต่อมาโดยมากยังอ้างอิงผลงานของอริสโตเติล จะมีเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องปลีกย่อย จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18  การศึกษาเกี่ยวกับปลาตื่นตัวมากขึ้น มีการเขียนตำราวิชาทางวิชาการ ซึ่งใช้อ้างอิงมาจนถึงทุกวันนี้ มีการจำแนกหมวดหมู่ปลากระดูกอ่อน ปลากระดูกแข็ง ศึกษากายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการของปลาจากซากดึกดำบรรถ์ทั้งหลาย
มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ด้านมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ อัลเบิร์ต กึนเธอร์, จอร์จส์ คูเวียร์, อเล็กซานเดอร์ เอ็มมานูเอล อกาซซี, หลุยส์ อกาซซี (บุตรของอกาซซี) รวมถึง คาโรลัส ลินเนียส ผู้ให้กำเนิดหลักการอนุกรมวิธานที่ใช้มาถึงปัจจุบันด้วย
สำหรับในประเทศไทย ศาสตร์แขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ดร. สมิธ นักมีนวิทยาและนักชีววิทยาที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ได้เดินทางสู่ประเทศไทย ในช่วงปลายรัชกาลที่ 6  จนถึงต้นรัชกาลที่ 7 เพื่อสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของภูมิภาคแถบนี้ และได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ เมื่อปี ค.ศ. 1926 ซึ่งได้พัฒนาจนกลายมาเป็นกรมประมงในปัจจุบัน มีนักศึกษาชาวไทยหลายคนที่ได้ร่ำเรียนกับ ดร.สมิธ อาทิ โชติ สุวัตถิ, จินดา เทียมเมศ, บุญ อินทรัมพรรย์ จนได้ก่อตั้งขึ้นเป็นคณะประมง หมาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1943 อันเป็นสถาบันหลักในทางการศึกษาทางด้านมีนวิทยาจนถึงปัจจุบันนี้[1][2]
ในปัจจุบัน มีนวิทยาจะถือว่าเป็นศาสตร์ที่ศึกษาพร้อมกับวิชาการทางด้านประมงและสัตววิทยา หรือชีววิทยาทางทะเล มีสถาบันอุดมศึกษาที่ทำการสอนหลายแห่งในประเทศไทย

http://th.wikipedia.org/wiki  วันที่ 1 กุมพาพันธ์ 2556

ชีววิทยาคืออะไรคุณรู้หรือยัง

ชีววิทยาคืออะไรคุณรู้หรือยัง





   ชีววิทยา(Biology) คือ การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต รากศัพท์ของคำนี้มาจากภาษากรีก คือ ไบออส (bios) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิต และโลกอส (logos) ที่หมายถึง ความคิดและเหตุผลการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตสามารถศึกษาได้หลายระดับ ตั้งแต่ระดับใหญ่ เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประชากรสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ การศึกษาลักษณะรูปร่าง การดำรงชีวิตและการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต สำหรับการศึกษาในระดับย่อยลงมา เช่น การศึกษาองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ อวัยวะ เนื้อเยื่อ และเซลล์ ในด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงาน นอกจากนี้ชีววิทยายังครอบคลุมถึงการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในระดับโมเลกุล อะตอมที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์ เช่น โมเลกุลดีเอ็นเอ (DNA) อาร์เอ็นเอ (RNA) โมเลกุลของสารอินทรีย์และอะตอมของธาตุต่างๆที่พบในสิ่งมีชีวิต รวมถึงการศึกษาเรื่องปฏิกิริยาเคมี และพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกายสิ่งมีชีวิตอีกด้วย จะเห็นได้ว่า ชีววิทยานั้นเกี่ยวข้องกับความรู้ต่างๆหลายสาขา ทั้งทางด้านเคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประยุกต์นำมาใช้อธิบายหรือจำลองความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเพื่อตอบปัญหาต่างๆที่มนุษย์สงสัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตได้





รูปภาพเซลล์ในมนุษย์





 















http://www.nana-bio.com  วันที่ 1 กุมพาพันธ์ 2556