วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Tablet



หลายๆคนพอพูดถึง "แท็บเล็ต - Tablet" แล้วอาจจะงงว่ามันคืออะไร ?? แต่ถ้าพูดว่า iPad, Samsung Galaxy Tab แล้วล่ะก็ต้องร้อง อ๋อ กันแน่นอนซึ่ง iPad และ Samsung Galaxy Tab นั้นจริงๆแล้วเป็นเพียงแค่ชื่อรุ่นเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วตัวเครื่องเหล่านี้จะเรียกกันว่า "แท็บเล็ต - Tablet"

"แท็บเล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet"


แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)
"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก 

"แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน


                                  ภาพ HP Compaq tablet PC ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows

แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet

"แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม"  

ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" เครื่องแรก


                                                                   ภาพ Apple iPad


ความแตกต่างระหว่าง "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet computer" และ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC"

เริ่มแรก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" จะใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของ Intel เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการหรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ Personal Computer - PC มาทำให้สามารถใช้การสัมผัสในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น Windows 7 หรือ Ubuntu Linux แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์คีย์บอร์ดหรือเมาส์ และเนื่องจากเป็นการรวมกันระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows และหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ของ Intel ทำให้มีคนเรียกกันว่า "Wintel"

ต่อมาในปี 2010 ได้เกิดแท็บเล็ตที่แตกต่างจาก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ขึ้นมาโดยไม่มีการยึดติดกับ Wintel แต่ไปใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนนั่นก็คือ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet" ซึ่งจะใช้หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้โดยตรงและสัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM แทนซึ่งสถาปัตยกรรม ARM นี้ทำให้แท็บเล็ตนั้นมีการใช้งานได้ยาวนานกว่าสถาปัตยกรรม x86 ของ Intel หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad) นั้นเอง

ข้อดีคือ- ทำให้เด็กไทยรุ่นใหม่ได้ก้าวทันเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น และได้เรียนรู้ตั้งแต่อายุยังน้อยเพราะเมื่อแก่ตัวไปก็จะสายเกินกว่าจะเรียนรู้แล้ว- เมื่อมีการนำหลักสูตรและตำราเรียนต่างๆมาใส่ไว้ใน Tablet ก็สามารถปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้เด็กได้เรียนรู้โปรแกรมใหม่ๆนอกเหนือจากในตำราเรียน
- เป็นการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีให้แก่เด็กเพื่อนำไปใช้ในการทำงาน และการประกอบอาชีพในอนาคต
- มันใช้แทนกระดาษได้จ้า...เพราะต้นไม้ที่จะให้ทำกระดาษน่ะ มันไม่มีจะให้ตัดแล้ว
- ช่วยกระตุ้นให้ครูที่หมดไฟทั้งหลาย เริ่มมองดูตัวเองให้มากขึ้น

มารู้จักประโยชน์ของการใช้ Tablet ในด้านการศึกษากัน 


ความสามารถมากมาย เมื่อใช้ Tablet แทนตำราเรียน ช่วยบันทึกข้อมูลการเรียน การสอนได้หลายรูปแบบ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือใช้แทนสื่อการเรียนการสอน


ที่มา http://www.tabletd.com วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556

Social Media

Social Media


Social คือสังคมคน Online 
Media คือ รูป ภาพ เสียง VDO ข้อความ ตัวอักษร
Social Media ก็คือ สังคม Online ซึ่งมี User เป็นผู้ใช้ เป็นผู้สร้างMedia ขึ้น และแบ่งปัน ส่งต่อ ผ่าน Social Network ซึ่งสามารถแบ่งหมวดหมู่ตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้


หมวดสื่อสาร





Photo by Joshua Ryan Adelman



-Web Blog  ยกตัวอย่างเช่น Exteen, Blogspot , Bloggang
ลักษณะการใช้งาน – เขียนบทความ เนื้อหาต่างๆ  ฯ
- Board/Forums ยกตัวอย่างเช่น Dek-d , Plamool , webboardของ Game Onlineต่าง Micro-blogging ยก

ตัวอย่างเช่น Twitter
ลักษณะการใช้งาน – ตั้งกระทู้ถามตอบ ตอบกระทู้
ลักษณะการใช้งาน – เป็น Blog สั้น ที่มีการกำหนดความยาวตัวอักษร
-Social Networking – ยกตัวอย่างเช่น Facebook , Hi5 , Myspace
ลักษณะการใช้งาน – เป็น การสร้างสังคม บนโลก online เพื่อ พูดคุย แบ่งปันให้ Networkของเรา ซึ่งเพื่อนของเรานั่นแหละที่เรียกว่า Network
-User Generated Content -  ยกตัวอย่างเช่น Squidoo, Hubpages
ลักษณะการใช้งาน – เราสามารถสร้างหน้า หรือว่าเขียนบทความในเว็บของเค้าได้

หมวด ร่วมด้วยช่วยกัน



Photo by ChrisL_AK

- Wiki ยกตัวอย่างเช่น Wikipedia, PBwiki, wetpaint
ลักษณะการใช้งาน  – User จะช่วยกันสร้างฐาน ข้อมูล เพื่อความรู้หรือดาต้าที่อยู่ในเว็บเราสามารถโชว์ทุกครั้งที่User อื่น ค้นหาข้อมูล จาก Keyword
- Social Bookmark ยกตัวอย่างเช่น Delicious, StumbleUpon, Stumpedia, Google Reader, CiteULike
ลักษณะการใช้งาน – เป็นเว็บสำหรับทำการbookmark online เพื่อที่จะ share ให้คนอื่นที่อยู่ ใช้เว็บนั้นๆอยู่ได้เห็นเว็บไซด์ที่เรา ทำงานการ Bookmark เอาไว้ด้วย ( การBookmarkจะคล้ายการใช้งานบน IE , Firefox, googlechomeแต่เราจะเห็นแต่เพียงผู้เดียว )
-Social News ยกตัวอย่างเช่น thairath, dailynews
ลักษณะการใช้งาน  – นำเสนอข่าว online

 หมวดมัลติมีเดีย




Photo by stevegarfield

หมวดรีวิว และแสดงความคิดเห็น



Photo by psd

- Product Reviews ยกตัวอย่างเช่น epinions.com, MouthShut.com และ Blog Review ต่างๆ
ลักษณะการใช้งาน เขียน Review สินค้า หรือ แม้แต่ทริปท่องเที่ยวเป็นต้น
Questions and Answers ยกตัวอย่าเช่น Yahoo Answer
ลักษณะการใช้งาน Userจะเป็นผู้ช่วยกันตั้งคำถาม และ ตอบคำถาม เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ความรู้และความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน

หมวดบันเทิง 




Photo by Second Life


- Virtual worlds ยกตัวอย่างเช่น Game Online ต่างๆ , The Sim Online
ลักษณะการใช้งาน เป็นโลกเสมือนจริงที่ User เป็นผู้ควบคุมตัวละคร ให้ เดิน วิ่ง พูดคุย เปรียบเสมือน อยู่บนโลกอีกใบหนึงเอาหละ หลังจากทราบ กันแล้ว ว่า Social Media มีอะไรบ้างแล้วทีนี้เรามาดูกันว่า ทั่วโลก เค้าใช้ Social Media อะไร และ Zone ไหน นิยมเว็บไซด์ได้ (ดูได้จาก รูปด้านล่าง)


หลังจากที่รู้จัก Social Media แล้ว ก็พอจะรู้ กลุ่มเป้าหมายแล้วนะครับ ว่าอยู่ Zoneไหน ควรจะใช้ Social Media ใด ในการโปรโมทเว็บไซด์ของตัวเองให้เป็นที่รู้จัก มากขึ้นๆ




ที่มา http://krujeerajaree.wordpress.com วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556









Video Conference


ความหมายของ Video Conference


Video Conference  คือระบบการติดต่อสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลภาพ และข้อมูล เสียง ระหว่างจุดต่อจุดหรือจุดต่อหลายๆจุดโดยผ่านระบบสื่อสาร ซึ่งจะเป็นลักษณะของการ
โต้ตอบซึ่งกันและกันแบบสองทางหรือพูดง่ายๆก็คือระบบประชุมทางไกลที่ผสมผสาน
ระหว่างภาพและเสียง ให้เปรียบเสมือนมีการประชุมอยู่ในห้องเดียวกัน

อุปกรณ์ที่สำคัญของ Video Conference

โคเด็ก (CODEX)

Codec เป็นคำย่อมาจาก CodeและDecodeเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟนส่งผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่งรวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับมาจากอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพง เส้นทางสื่อสารขนาด 384Kbpsขึ้นไปสามารถให้คุณภาพในระดับที่ยอมรับโดยหลักการทำงานของCODECจะแปลงสัญญาณ อนาล็อคทั้งภาพและเสียงให้เป็นสัญญาณดิจิตอลและจะบีบสัญญาณให้เล็กลงโดยดำเนินข้อมูลภายในเฟรมเดียวกัน CODECเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของระบบหลักการทำงาน


กล้อง


เป็นกล้องทีวีที่ใช้ในการจับภาพผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อส่งเข้า CODEC แปลงและบีบอัดสัญญาณ มีระบบ
เซอร์โวเพื่อควบคุมมาจากระยะไกลให้ปรับมุมเงยมุมก้มส่วนซ้ายขวา และซูมภาพได้ ปกติจะมาพร้อม
ชุดอุปกรณ์ Codec



จอภาพ


ทำหน้าที่รับเสียงจากผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อส่งไปยังระบบเสียงปลายทาง


  • แป้นควบคุม (Control Key Pad)

แป้นควบคุมทำหน้าที่ควบคุมกล้องเสียงและเลือกส่งภาพจากแหล่งต่างๆไปยังระบบปลายทาง เป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการควบคุมระบบ เช่น ควบคุมการปรับมุมกล้องที่ปลายทางระยะห่างไกล การเลือกการติดต่อปลายทาง การปรับเสียง ปรับระบบสื่อสารต่าง

  • หลักการทำงานมีวิธีการอย่างไร ?




                               ตัวอย่างการประชุมสายโทรศัพท์



1. เชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียงอุปกรณ์ทั้งหมดให้เรียบร้อย ได้แก่ Codec Network
กล้องเสริม,จอโทรทัศน์, Projector, เครื่องนำเสนอ, Computer, เครื่องบันทึก,             ระบบเสียงชุดประชุม (ตามความต้องการใช้งาน)2. เชื่อมต่อ Codec เข้ากับระบบ Network เพื่อ Config IP ให้กับ Codec
3. ทดสอบการแสดงผลของภาพและเสียงในฝั่งของตนเองให้ถูกต้อง เมื่อติดตั้งและ
ทดสอบเรียบร้อยแล้วก็ให้ทำการติดต่อกับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อทำการทดสอบ
 Conference    ระหว่างวิทยาเขตต่อไปหลักในการจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์ระบบการประชุมทางไกล





                       ตัวอย่างแผนภาพการเชื่อมต่อ Video Conference



  • การนำ Video Conference มาประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษา


1. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากที่ต่าง ๆ เพื่อมาประชุมหรืออบรมทางวิชาการ2. สามารถทำการประชุมเพื่อวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วในด้านการศึกษาต่างๆ 3.สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถ
ร่วมเรียนด้วยได้
4. สามารถลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทางได้

ที่มา http://www.klongsiam.com วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556




Web Quest


Web Quest

    

     Web Quest คือกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงรู้ โดยมีฐานสารสนเทศที่ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์ด้วย บนแหล่งต่างๆบนอินเทอร์เน็ต และอาจเสริมด้วยระบบการประชุมทางไกล โดยมีเป้าหมายที่จะนำแหล่งความรู้ที่หลากหลายบนเครือข่าย World Wide Web มาใช้เป็นฐานในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยผู้เรียนแสวงรู้จากแหล่งความรู้ที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ Web Quest ได้รับการออกแบบที่จะใช้เวลาของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้สารสนเทศมากกว่าการแสวงหาสารสนเทศ
     (วสันต์ อติศัพท์, 2547) ได้ให้คำจำกัดความภาษาไทยว่า “บทเรียนแสวงรู้บนเว็บ” ซึ่งหมายถึงเว็บเพื่อการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถที่จะสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
     ความหมายโดยรวม Web Quest  คือเป็นการใช้แหล่งความรู้ที่มีอยู่มากมายบนระบบอินเทอร์เน็ตมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้สอนในรูปแบบของกิจกรรมและสมมติฐาน โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการ ฝึกนิสัยและทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กระบวนการทำงานกลุ่มและการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ บนระบบอินเทอร์เน็ต”




                                             รูปภาพหน้าแรก webquest




ประเภทของ Web Quest

1. Web Quest ระยะสั้น (Quest Short Term Web Quest ) มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนแสวงหาและบูรณาการความรู้ในระดับเบื้องต้น ที่ผู้เรียนจะเผชิญและสร้างประสบการณ์กับแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่สำคัญจำนวนหนึ่งและสร้างความหมายให้กับประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเอง Web Quest ประเภทนี้ใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 1 - 3 คาบเรียน
2. Web Quest ระยะยาว (Longer Term Web Quest) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระดับการคิดขั้นสูงของผู้เรียน ซึ่งเมื่อจบบทเรียนแล้ว ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์องค์ความรู้ที่ลึกซึ้งและถ่ายโอนไปใช้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งได้ และสามารถแสดงออกถึงความเข้าใจในเนื้อหานั้นด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมา อาจจะอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือในรูปแบบอื่นก็ได้ โดยทั่วไป Web Quest แบบนี้จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 1 เดือน

องค์ประกอบของ  Web Quest

         Web Quest ที่ดีจะต้องได้รับการออกแบบสำหรับผู้เรียนที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน เป็นโครงการที่สร้างสรรค์ ที่มีช่องทางที่ยืดหยุ่นสำหรับผู้เรียนที่จะแสดงออกและการเชื่อมต่อกับแหล่งความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อโครงการ สิ่งที่ควรเน้นคือการเรียนรู้อย่างร่วมมือระหว่างผู้เรียน โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 6 ส่วนคือ
1. บทนำ (Introduction) เป็นขั้นเตรียมตัวผู้เรียนในการที่จะนำเข้าสู่กิจกรรมการเรียนการสอน โดยทั่วไปมักจะเป็นการให้สถานการณ์ ที่จะให้ผู้เรียนร่วมแก้ปัญหา หรือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้
2. ภารกิจ (Task) เป็นปัญหาหรือประเด็นที่สำคัญที่ผู้เรียนจะต้องดำเนินการเพื่อหาคำตอบ
3. กระบวนการ (Process) เป็นการชี้แจงว่าผู้เรียนจะต้องปฏิบัติกิจกรรมใดบ้าง เพื่อให้บรรลุภารกิจที่วางไว้ โดยมีความยืดหยุ่นให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ด้วย จะต้องกิจกรรมทีนำไปสู่ขั้นวิเคราะห์ สังเคราะห์และการประเมินค่า กิจกรรมนั้นควรที่จะเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) และ กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative learning)
4. แหล่งความรู้ (Resources) เป็นการให้แหล่งสารสนเทศที่มีบน World Wide Web เพื่อว่าผู้เรียนสามารถนำสาระความรู้เหล่านั้นมาแก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมาย โดยเน้นแหล่งความรู้หลายแหล่ง และมีความหลากหลาย
5. การประเมินผล (Evaluation) เป็นขั้นการติดตามว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด จะเน้นการวัดผลในสภาพที่เป็นจริง (Authentic assessment) ซึ่งอาจออกมาในรูปของการประเมินเชิงมิติ(Rubrics) การจัดทำแฟ้มข้อมูล (Portfolio)
6. สรุป (Conclusion) บอกความสำคัญของเนื้อหาบทเรียนนั้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดที่ได้ช่วยกันแสวงหาและสร้างขึ้นมาเอง

Web Quest  ที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

                1. ง่ายต่อความเข้าใจในการใช้
                2. ใช้แหล่งความรู้ที่ดีและมีคุณภาพ
                3. สร้างบทเรียนที่จูงใจผู้เรียน
                4. ขั้นภารกิจต้องอธิบายให้ชัดเจน
                5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์
                6. เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุกสนานให้แก่ผู้เรียน
                7. ช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสืบค้นข้อมูล
                8. ผู้เรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม


รูปภาพ webquest



        Web Quest นำมาประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษา

เป็น “บทเรียนแสวงรู้บนเว็บ” ที่สร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในการเรียนรู้ในสังคมสารสนเทศ ที่มีแหล่งความรู้ที่หลากหลายและไร้พรมแดน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนไม่เพียงแต่ได้องค์ความรู้ที่กลุ่มผู้เรียนสร้างสรรค์ขึ้นเอง หากแต่ผู้เรียนยังได้พบกับโลกกว้างแห่งความรู้ สิ่งที่ต้องคำนึงคือการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดอย่างตริตรอง ใคร่ครวญในสารสนเทศที่ได้มา เพราะยังมีสารสนเทศบน World Wide Web อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองและผู้ออกแบบบทเรียนประเภทนี้ต้องคำนึงถึงจุดอ่อนนี้ด้วย




ที่มา http://www.gotoknow.org วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556