วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

เซลล์พันธุศาสตร์ของสัตว์(Animal Cytogenetics)

เซลล์พันธุศาสตร์ของสัตว์(Animal Cytogenetics)


ปกติลักษณะของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีรูปร่าง ขนาดและจำนวนคงที่เสมอไม่ว่าโครโมโซมจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานกี่ชั่วรุ่นก็ตาม จำนวนและรูปร่างของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งๆจะเป็นเอกลักษณะจำเพาะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ
โครโมโซมคือ โครงสร้างทางพันธุกรรม (heredity structure) ที่เป็นที่อยู่ของหน่วยพันธุกรรมโครโมโซมทำหน้าที่เก็บรักษา (storage) ถ่ายทอด (transmission) และแสดงออก (expression) ของข้อมูลพันธุกรรม โครโมโซมพบครั้งแรกโดย Strasburger ในปี ค.ศ. 1870 ต่อมาในปี ค.ศ. 1888 Waldeyer จึงเรียกส่วนของนิวเคลียสที่ติดสีนี้ว่า chromosome ซึ่งแปลว่า color body โครโมโซมจะย้อมติดสีที่เป็นเบส (basic dye) เมื่อดูโครโมโซมด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ในนิวเคลียสระยะอินเตอร์เฟสจะเห็นโครโมโซมเป็นเส้นบางยาวๆ เรียกว่า โครมาติน (chromatin) stage) หรือเป็นแท่งขณะเซลล์กำลังแบ่งตัว (division stage) องค์ประกอบของโครโมโซมพวกสิ่งมีชีวิตชั้นสูงที่สำคัญคือ กรดนิวคลีอิคชนิด DNA และโปรตีน
เนื่องจากรูปร่างของโครโมโซมจะเปลี่ยนแปลงไปตามระยะต่างๆของการแบ่งเซลล์ แต่ในระยะเมทาเฟส เป็นระยะที่โครโมโซมหดสั้นที่สุด มีขนาดใหญ่สุด จึงสามารถมองเห็นชัดเจนที่สุด ดังนั้นรูปร่างของโครโมโซมโดยทั่วไปหมายถึง รูปร่างในระยะเมทาเฟส เรียกว่า metaphase chromosome ประกอบด้วยโครมาติด (chromatid) 2 เส้นติดกันที่ตำแหน่งที่เรียกว่าเซนโทรเมียร์ (centromere) ตำแหน่งของเซนโทรเมียร์บนโครโมโซมแต่ละแท่ง จะมีความจำเพาะและคงที่เสมอ ส่วนของโครโมโซมที่ยื่นออกมาจากเซนโทรเมียร์เรียกว่า แขน (arm) ส่วนที่สั้นกว่า เรียก แขนสั้น (short arm ; p) ส่วนที่ยาวกว่า เรียก แขนยาว (long arm ; q)

  


รูปภาพโครโมโซม





ที่มา http://philomath.exteen.com   วันที่ 1 กุมพาพันธ์ 2556

3 ความคิดเห็น:

  1. ย่อหน้าด้วยนะ ภาพไม่ค่อยชัดนะ เนื้อหาเข้าใจง่ายดี

    ตอบลบ
  2. ควรย่อหน้าและหารูปที่ชัดกว่านี้

    ตอบลบ
  3. ควรย่อหน้าเพื่อให้รู้ถึงความสำคัญ

    ตอบลบ