วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ชีวเคมี

ชีวเคมี (Biochemistry) เป็นวิชาพื้นฐานวิชาหนึ่งของนักศึกษาในหลายๆสาขา เช่น แพทยศาสตร์ ทันตกรรมศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เภสัชกรรมศาสตร์ เป็นต้น แล้ว ชีวเคมี นี้คืออะไร? ชีวเคมี = ชีว (ชีวิต) + เคมี หรือก็คือ เคมีแห่งชีวิต นั่นเอง ชีวเคมีคือศาสตร์ที่อธิบายชีวิตโดยพิจารณาในระดับโมเลกุล ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของโครงสร้าง, กลไก และกระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้น นักชีวเคมีต่างทำงานหนักในขอบเขตวิจัยต่างๆกัน บ้างก็ศึกษาชีวโมเลกุล เช่น คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน โปรตีน นิวคลีโอไทด์ ฯลฯ บ้างก็ศึกษาเอนไซม์ (enzyme) ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพ (biocatalyst) อันเปรียบได้ดังตัวจักรกลทำงานในสิ่งมีชีวิต บ้างก็ศึกษากลไกของการเกิดปฏิกิริยา (mechanism of reaction) บ้างก็ศึกษาวิถี (pathway) ของการสร้าง/สลายชีวโมเลกุลต่างๆ บ้างก็ศึกษาเกี่ยวกับสารพันธุกรรมคือดีเอ็นเอ (DNA) ที่เปรียบได้ดังพิมพ์เขียวของสิ่งมีชีวิต บ้างก็ศึกษาโครงสร้างสามมิติ (3D structure) ของโปรตีน เป็นต้น ความรู้ทางชีวเคมีเหล่านี้ไม่สูญเปล่า และคงคุณค่าอเนกอนันต์แก่มนุษยชาติ นอกจากจะทำให้เราเข้าใจ ชีวิต มากขึ้นในแง่มุมหนึ่งแล้ว ความรู้ทางชีวเคมียังช่วยให้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้นอีกด้วย เพราะการคิดค้นยาและวิธีรักษาโรคต่างๆในทางการแพทย์อันนับไม่ถ้วนล้วนต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ทางชีวเคมี และยังมีการประยุกต์ไปใช้ในงานด้านอื่นอีก เช่น งานด้านอุตสาหกรรมต่างๆ



สาย DNA และ RNA



พันธุศาสตร์ 

คำว่า "พันธุศาสตร์" นี้ เริ่มแรกคิดขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้กับศาสตร์ใหม่ที่ว่าด้วยการศึกษาชาติพันธุ์และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ วิลเลียม เบทสัน โดยปรากฏอยู่ในเอกสารของเขาที่ส่งไปให้อดัม เซดจ์วิค ซึ่งมีการลงบันทึก วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2448
มนุษย์เริ่มรับความรู้เกี่ยวกับพันธุศาสตร์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยการเพาะพันธุ์และการดำเนินการสืบพันธุ์ให้แก่พืชและสัตว์ การวิจัยทางพันธุศาสตร์ปัจจุบันนิยมใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ศึกษาเพื่อให้ทราบระบบภายในของยีน เช่น การวิเคราะห์การตอบสนองทางพันธุกรรม ซึ่งอยู่ภายในสิ่งมีชีวิต ข้อมูลทางพันธุกรรมส่วนใหญ่มักถูกบรรจุไว้ในโครโมโซม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างทางเคมีของ ดีเอ็นเอ
รหัสทางพันธุกรรมสามารถจำแนกได้จากยีน ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่สำคัญยิ่งในการประกอบลักษณะทางเคมีของโปรตีน ถึงแม้ว่าโปรตีนจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง แต่ในหลายกรณี โปรตีนนั้นไม่อาจกำหนดสารประกอบทางพันธุกรรมได้ทั้งหมด ทว่ากลับอยู่ในฟีโนไทป์ตัวสุดท้ายของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ วลีศัพท์ทางพันธุศาสตร์คำว่า "เพื่อระบุรหัส" มักใช้กับยีนที่สามารถสร้างโปรตีนเองได้, โดยจะถูกเรียกว่า "รหัสถ่ายพันธุ์
ของโปรตีน"


ที่มา http://philomath.exteen.com   วันที่ 1 กุมพาพันธ์ 2556

3 ความคิดเห็น:

  1. ย่อหน้าด้วย เน้นหัวข้อด้วย เนื้อหาสั้นเข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  2. ถ้าจะเน้นคำข้อให้ชัดเจน มีการการตัดคำทำให้อ่านยาก

    ตอบลบ
  3. ย่อหน้าด้วย เนื้อหาครบ

    ตอบลบ