วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

มีนวิทยา

มีนวิทยา 

 เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา รวมถึงอนุกรมวิธานของปลา ออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ปลาในที่นี้ประกอบด้วยปลากระดูกแข็ง ปลากระดูกอ่อน ได้แก่ ฉลามและกระเบน และปลาไมามีขากรรไกร โดยไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์น้ำพวกอื่น เช่น หมึก, กบ, กุ้ง, ปู, วาฬ หรือโลมา ซึ่งไม่จัดว่าเป็นปลา


หนังสือ มีนวิทยา


การศึกษาทางด้านมีนวิทยามีความสัมพันธ์อย่างมากกับสาขาวิชาชีววิทยาทางทะเล ชลชีววิทยา และสมุทรศาสตร์ และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ว่า "นักมีนวิทยา"
มีนวิทยา ถือได้ว่าเป็นแขนงย่อยของสัตววิทยา โดยคำว่า "Ichthyology" ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษนั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ichthys" (ἰχθύς) แปลว่า ปลา, "logy" หรือ "logos" (λόγος) แปลว่า วิชา หรือ เรื่องราว, "มีน" มาจากภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า ปลา และ "วิทยา" มาจากภาษสันสฤษ แปลว่า ความรู้
โดยบุคคลแรกที่ถือได้ว่าศึกษาศาสตร์มีนวิทยาเป็นคนแรกของโลก คือ อริสโตเติ้ล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ริเริ่มจำแนกสิ่งมีชีวิต บันทึกของอริสโตเติลได้กล่าวถึงโครงสร้าง อุปนิสัย การอพยพย้ายถิ่น ฤดูกาลสืบพันธุ์ และความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลามากชนิด แต่ความจริงมนุษย์รู้จักปลามานานกว่า 50,000 ปีแล้ว จากหลักฐานทีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้วาดภาพปลาไว้ที่ผนังถ้ำ เช่น รูปปลาบึกทีอุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับปลาในระยะต่อมาโดยมากยังอ้างอิงผลงานของอริสโตเติล จะมีเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องปลีกย่อย จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18  การศึกษาเกี่ยวกับปลาตื่นตัวมากขึ้น มีการเขียนตำราวิชาทางวิชาการ ซึ่งใช้อ้างอิงมาจนถึงทุกวันนี้ มีการจำแนกหมวดหมู่ปลากระดูกอ่อน ปลากระดูกแข็ง ศึกษากายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการของปลาจากซากดึกดำบรรถ์ทั้งหลาย
มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ด้านมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ อัลเบิร์ต กึนเธอร์, จอร์จส์ คูเวียร์, อเล็กซานเดอร์ เอ็มมานูเอล อกาซซี, หลุยส์ อกาซซี (บุตรของอกาซซี) รวมถึง คาโรลัส ลินเนียส ผู้ให้กำเนิดหลักการอนุกรมวิธานที่ใช้มาถึงปัจจุบันด้วย
สำหรับในประเทศไทย ศาสตร์แขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ดร. สมิธ นักมีนวิทยาและนักชีววิทยาที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ได้เดินทางสู่ประเทศไทย ในช่วงปลายรัชกาลที่ 6  จนถึงต้นรัชกาลที่ 7 เพื่อสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของภูมิภาคแถบนี้ และได้เข้ารับตำแหน่งเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำ เมื่อปี ค.ศ. 1926 ซึ่งได้พัฒนาจนกลายมาเป็นกรมประมงในปัจจุบัน มีนักศึกษาชาวไทยหลายคนที่ได้ร่ำเรียนกับ ดร.สมิธ อาทิ โชติ สุวัตถิ, จินดา เทียมเมศ, บุญ อินทรัมพรรย์ จนได้ก่อตั้งขึ้นเป็นคณะประมง หมาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1943 อันเป็นสถาบันหลักในทางการศึกษาทางด้านมีนวิทยาจนถึงปัจจุบันนี้[1][2]
ในปัจจุบัน มีนวิทยาจะถือว่าเป็นศาสตร์ที่ศึกษาพร้อมกับวิชาการทางด้านประมงและสัตววิทยา หรือชีววิทยาทางทะเล มีสถาบันอุดมศึกษาที่ทำการสอนหลายแห่งในประเทศไทย

http://th.wikipedia.org/wiki  วันที่ 1 กุมพาพันธ์ 2556

3 ความคิดเห็น: